Smart Contract (สมาร์ทคอนแทรค) คืออะไร
ก่อนที่เราจะเข้าเรื่องของ Smart Contract ของเกริ่นนำก่อนสักนิดถึงที่มาที่ไป เชื่อว่าหลายคนคงจะเคยได้ฟังเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่อยู่เบื้องหลังการทำงานของสกุลเงินดิจิทัล ที่เรียกว่า Blockchain กันมาบ้างแล้วซึ่งได้รับความเชื่อว่าเป็นธุรกรรมที่โปร่งใส ตรวจสอบได้ฐานข้อมูลมีความแม่นยำน่าเชื่อถือ ทุกคนสามารถที่จะเข้าถึงข้อมูลธุรกรรมได้ ความสามารถเหล่านี้สามารถที่จะนำไปพัฒนาต่อยอดในการทำธุรกรรมอย่างอื่นๆได้ นอกเหนือจากธุรกรรมทางการเงิน ซึ่ง Smart Contract ก็เป็นเทคโนโลยีรูปแบบหนึ่งของDistributed ledger ที่นำ Blockchain มาใช้
ซึ่งต่อไปเราจะมาศึกษาเรื่องของ Smart Contract ว่าคืออะไร
ความหมายของ Smart Contract คืออะไร
Smart Contract หรือ สัญญาอัจฉริยะ หมายถึงเงื่อนไขหรือข้อตกลงของสัญญาที่ถูกจัดเก็บไว้ในรูปแบบCode computer ที่ถูกเก็บไว้ที่ Blockchain เมื่อมีคำสั่งใดที่ตรงตามเงื่อนไขหรือข้อตกลงระบบ Smart Contract จะดำเนินการธุรกรรมตามข้อตกลงโดยอัตโนมัติ ระบบ Smart Contract ได้ถูกคิดค้นโดยNick Szabo ซึ่งนับว่าเป็นการเพิ่มความรวดเร็ว ลดขั้นตอน ลดบุคลากรไม่ต้องผ่านตัวกลางใดๆ สามารถป้องกันการทุจริตได้
การทำงานของ Smart Contract
กระบวนการทำงานสามารถแบ่งย่อยได้ 3 ขั้นตอนดังนี้
- Coding : การสร้างเงื่อนไขหรือข้อตกลงเพื่อให้เหตุการณ์เกิดขึ้นแล้วจะทำอย่างไรต่อไป
- Distributed Ledgers : การส่งชุดคำสั่งไปยังคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในเครือข่าย และทำตามเงื่อนไขที่สร้างไว้
- Execution : เครือข่ายอัพเดทข้อมูลตรวจสอบการปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อตกลง ป้องกันการแก้ไขข้อมูล ซึ่งสามารถป้องกันการรั่วไหลของข้อมูล การHackข้อมูลนั้นยากมาก ทำให้มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
การนำเทคโนโลยี Smart Contract มาใช้
เทคโนโลยี Smart Contract เริ่มมีการใช้มากขึ้น ตัวอย่างเช่น การชำระบัตรเครดิตด้วยระบบอัตโนมัติ
ซึ่งธนาคารและสถาบันทางการเงินหลายแห่งเริ่มนำมาใช้ คือธนาคารจะมีระบบหักเงินจากบัญชีอัตโนมัติทุกวันที่เท่าไหร่ของเดือนแล้วแต่เงื่อนไขของแต่ละธนาคารซึ่งเป็นการยินยอมจากลูกค้า ซึ่งถือว่ามีความสะดวกลดเวลา ทั้งกับลูกค้าเองและเจ้าหน้าที่ด้วย การชำระค่าเช่าที่พัก ธุรกิจเช่ารถ การซื้อขายสินค้าออนไลน์ การโอนเงินระหว่างประเทศ การขอใบอนุญาต การขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน การทำธุรกรรมต่างๆ ประกันภัยรถยนต์ ซึ่งในอนาคตก็จะต้องมีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดต่อไปอย่างแน่นอน เนื่องจากปัจจัยหลายๆอย่างที่คนส่วนใหญ่ชอบความสะดวก รวดเร็ว
ถึงแม้ว่า Smart Contract จะเป็นเทคโนโลยีที่มีความทันสมัยและมีความแม่นยำเพียงใด สำหรับประเทศไทยนั้นก็ยังไม่ได้รับความนิยมเท่าไหร่ อาจเนื่องมาจากคนไทยไม่คุ้นกับการทำธุรกรรมโดยไม่มีเอกสารใดๆที่แสดงเป็นลายอักษร แต่อย่างไรก็ตามในอนาคตจะต้องมีการพัฒนาระบบ Smart Contract ให้มีความน่าเชื่อถือและควรมีกฎเกณฑ์อะไรมารองรับระบบเพื่อให้แก้ไขในส่วนที่ยังอาจเกิดข้อผิดพลาดได้