e-KYC (Electronic Know Your Customer) คืออะไร
ในยุคปัจจุบันประเทศไทยมีความพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีเพิ่มมากขึ้น จะเห็นได้ชัดเจนที่สุดก็คือการเข้าถึงบริการทางด้านการเงินได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ทั้งการโอนเงิน การจ่ายเงิน ซึ่งเทคโนโลยีที่ทันสมัยนี้ทำให้บริษัทต่างๆลดต้นทุนทั้งทางด้านแรงงานและลดกระบวนการต่างๆ รวมถึงลดการทุจริตได้อีกด้วย ซึ่งในบทความนี้เราจะกล่าวถึงเทคโนโลยี e-KYC ว่าคืออะไร มีประโยชน์อย่างไร ทำถึงได้รับความนิยมมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ความหมายของ e-KYC (Electronic Know Your Customer)
คือ การนำเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการระบุตัวตนและการตรวจสอบข้อมูลของตัวบุคคล เป็นเทคโนโลยีที่กำลังได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางและมีหลายหน่วยงานเริ่มนำมาใช้กันอย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้นเนื่องจากมีความสะดวก รวดเร็วลดเวลาการทำงาน ตัวอย่างของเทคโนโลยีนี้จะใช้วิธีการ Video Identification เทคโนโลยีการจดจำใบหน้า facial recognition หรือการลงนามทางอิเล็กทรอนิกส์
การนำ e-KYC มาใช้ในประเทศไทย
ประเทศไทยยังนับว่านำเทคโนโลยี e-KYC มาใช้บางแต่ยังไม่มากนักเนื่องด้วยข้อจำกัดทางด้านกฎหมายหลายๆอย่างทั้งความเสี่ยงทางด้านเทคโนโลยีที่อาจเกิดขึ้นจากความชำนาญจากการใช้อุปกรณ์ ทำให้การตรวจสอบข้อมูลยังไม่มีความน่าเชื่อถือเพียงพอบวกกับความปลอดภัยของข้อมูลที่อาจเกิดการรั่วไหล แต่อย่างไรก็ตาม ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประกาศ ธปท.เรื่องหลักเกณฑ์การรับฝากเงินจากประชาชน ซึ่งทำให้สถาบันการเงินสามารถเปิดบัญชีรับฝากเงินอิเล็กทรอนิกส์ได้ แต่ทำได้เฉพาะในลูกค้าบุคคลธรรมดาเท่านั้น แต่จะต้องอยู่ภายในเงื่อนไขที่มีความรัดกุม มีการทำKYCที่ได้มาตรฐาน จัดให้มีระบบ Video conference สัมภาษณ์ลูกค้าได้แบบReal-time เหมือนกับการอยู่ต่อหน้าเจ้าหน้าจริงๆ เพื่อเป็นการพิสูจน์ตัวตนนอกจากนี้อาจมีการตรวจสอบลายนิ้วมือลูกค้าเพื่อเพิ่มความรัดกุมให้มากยิ่งขึ้นน
นอกจากระบบธนาคารแล้วประเทศไทยก็มีการส่งเสริมให้ตลาดหลักทรัพย์ได้เปิดบัญชีผ่านทางอินเตอร์เน็ตตามข้อกำหนดและมาตรการตามกฎหมายทั้งนี้เพื่อลดความเสี่ยง ตัวอย่างที่เริ่มใช้ เช่น การเปิดบัญชีผ่านทางอินเตอร์เน็ต Online Trading ในวงเงินที่ไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงวงเงินจำนวนไม่มากเพื่อป้องกันการฟอกเงินหากจำนวนเงินมาก
ข้อจำกัดในการใช้ e-KYC ในประเทศไทย
ถึงแม้ประเทศไทยรัฐบาลจะพยายามผลักดันให้หน่วยงานต่างๆนำระบบ e-KYC มาใช้แต่อย่างไรก็ตามก็ยังมีข้อจำกัดบางอย่างที่ยังไม่สามารถนำมาได้อย่างจริงจังมากนัก ซึ่งข้อจำกัดที่ว่านี้มีอยู่ 2 ข้อที่ใหญ่ๆคือ
- ความน่าเชื่อถือของการเก็บข้อมูลKYC
ซึ่งความน่าเชื่อถือและความไม่มั่นในระบบนั้นนับว่ามีความสำคัญมาก ถึงแม้ว่าจะมีกฎหมายมารองรับแล้วก็ตาม อย่างเช่น ในส่วนของการลงมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ซึ่งเป็นกลไกที่สำคัญก็ยังไม่ได้นำมาใช้อย่างแพร่หลายมากนัก อาจเนื่องมาจากความไม่น่าเชื่อถือ อาจแก้ไขได้ด้วยการออกเอกสารกำกับชัดเจนว่าการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์นี้สามารถเชื่อได้ตามกฎหมาย
- การเข้าถึงข้อมูลยังไม่สามารถทำได้อย่างเต็มที่
สำหรับประเทศไทยบางหน่วยงานยังไม่เปิดให้เข้าเชื่อมโยงข้อมูลได้ อย่างเช่นข้อมูลของกรมการปกครอง ฐานข้อมูลบุคคลที่กระทำผิดตามความผิดมูลฐานซึ่งหากสถาบันการเงินต้องการเข้าถึงข้อมูลการต้องมีขั้นตอนที่มากพอสมควร