COVID-19 กระทบอย่างไรกับการทำธุรกิจ รับมืออย่างไร
ประเทศไทยมีหนี้สินครัวเรือน ใน ปี 2562 มีมูลค่า 13 ล้านล้านบาท เกือบ 80% ของ GDP ก่อนจะเกิดสถานะการณ์ COVID-19 การเกิดโรคระบาด หนี้สินครัวเรือนคนทั่วไป ที่ได้รับผลกระทบจะต้องกู้เงินเพื่อมาใช้จ่ายเพิ่มอีกเท่าไหร่ หนี้จะเพิ่มอีกเท่าไหร่ เป็นสิ่งที่น่าเป็นห่วง จากผลกระทบของ COVID-19 ที่ทำเอาหลายๆคนเรียกว่าต้องเปลี่ยนแผนชีวิตในปี 2563 กันเลย และไม่ใช่เพียงแค่การดำเนินชีวิตประจำวันหรือการวางแผนในด้านต่างๆ ของผู้คนเท่านั้น ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่นี้ แต่มันยังส่งผลกระทบไปจนถึงภาคธุรกิจในทุกๆ อุตสาหกรรมอีกด้วย จากปลายปี 2019 ที่ผ่านมาจนกระทั่งถึงช่วงเวลานี้ ดูเหมือนว่า การแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ นอกจากจะไม่มีทีท่าว่าจะลดลงหรือ ไม่มีแนวโน้มว่าจะดีขึ้นแล้ว ยังดูเหมือนสถานการณ์จะยิ่งรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ จนอาจจะยิงยาวไปจนถึงไตรมาสที่ 2 หรือกระทั่งไตรมาสที่ 3 ก็เป็นได้ แต่ที่แน่ๆ ในตอนนี้ ภาคธุรกิจก็ได้รับผลกระทบไปตามๆกัน ไปดูกันว่า ภาคธุรกิจใดได้รับผลกระทบอย่างไร และเราจะมีวิธีการรับมือ กับ COVID-19 ในช่วงเวลาต่อจากนี้อย่างไร
ภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19
- ธุรกิจออนไลน์
COVID-19 ธุรกิจออนไลน์ไม่ว่าจะขายของออนไลน์ หรือบริการออนไลน์ต่างๆ ทุกธุรกิจ ได้รับผลกระทบมากเหมือนกัน สภาพคล่องหายไปคนไม่จับจ่ายใช้สอย ทำให้ยอดขายน้อยลงกว่า คนมีตังจับจ่ายใช้สอยน้อยขึ้น ผลกระทบของคนขายออนไลน์ไม่ว่าจะขายอะไร ก็จะมีผลกระทบตามมา แนวทางแก้ไขสำหรับแม่ค้าออนไลน์ทำโฆษณาให้ตรงกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น เพิ่มช่องทางมากขึ้น ถ้าขายใน facebook อย่างเดียวลองดูช่องทางอื่นๆ เพิ่ม เช่น google youtube สองช่องทางน้อยก็สามารถทำการตลาดออนไลน์ได้ดีเหมือนกัน ให้ประคองธุรกิจผ่านช่วงนี้ไปได้
- ภาคอุตสาหกรรมและการท่องเที่ยว
กลุ่มธุรกิจที่ได้รับผลกระทบที่รุนแรงมากที่สุด ก็คงต้องยกให้ภาคอุตสาหกรรมและการท่องเที่ยว รวมไปถึงการบริการ ซึ่งตั้งแต่มีเรื่องของการแพร่ระบาดของเชื้อโรคร้ายนี้ที่ใครๆ ก็บอกว่ารุนแรงกว่าโรคซาร์ในปี 2546 ก็ทำให้การท่องเที่ยวชะลอตัวไปเป็นอย่างมากตั้งแต่ช่วงปลายปีที่ผ่านมา จนอาจจะกระทบไปถึงไตรมาสสุดท้ายของปี 2563 ก็เป็นได้ เนื่องจากผู้คนหลีกเลี่ยงและลดการท่องเที่ยว หลายคนยกเลิกทริปเที่ยวต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ รวมไปถึงลดการใช้จ่ายในด้านการท่องเที่ยวลง และในส่วนของนักท่องเที่ยวชาวจีน ที่ถือได้ว่าเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวที่ใหญ่ที่สุด ซึ่งยังคงไม่สามารถออกไปไหนได้ เนื่องจากการปิดประเทศเพื่อควบคุมการแพร่กระจายเชื้อ จึงทำให้มูลค่าของการท่องเที่ยวจากนักท่องเที่ยวชาวจีนลดลงมากถึง 17 เปอร์เซ็นต์ ของการท่องเที่ยวทั่วโลกซึ่งคิดเป็นมูลค่ามากกว่า 277 พันล้านเหรียญสหรัฐ
แน่นอนว่าภูมิภาคที่ได้รับผลกระทบจากเรื่องนี้มากที่สุด ก็คือ การท่องเที่ยวในโซนยุโรป และกลุ่มเอเชียแปซิฟิก เนื่องจากการท่องเที่ยวเป็นภาคธุรกิจ ที่สามารถสร้างรายได้สูงที่สุดของแต่ละประเทศ ประมาณ 7 ถึง 20 เปอร์เซ็นต์ของ GDP
ในส่วนของอุตสาหกรรมการให้บริการ ร้านอาหารต่างๆ รวมไปถึงภาคบริการที่จะต้องเกี่ยวข้องกับผู้คนในระยะสั้นผู้คนแวะเวียนเข้าออก นอกจากร้านอาหารดังกล่าวแล้ว ยังมีในส่วนของห้างสรรพสินค้า ที่จะต้องมีการป้องกันและเตรียมความพร้อม กับการได้รับผลกระทบที่เกิดขึ้นนี้ รวมไปถึงการวางแผนเพื่อรับมือในระยะยาว จากการที่นักท่องเที่ยวลดลง ซึ่งเห็นได้อย่างชัดเจนว่า ห้างสรรพสินค้าและร้านอาหารทุกวันนี้เงียบเป็นเป่าสาก
- ภาคอุตสาหกรรมการบิน
การชะลอตัวของภาคอุตสาหกรรมการบินและสายการบิน ซึ่งเกิดขึ้นจากผลกระทบนี้เป็นผลพวงต่อเนื่องมาจากภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการที่ชะลอตัวลงด้วยเช่นกัน เมื่อผู้คนยกเลิกการท่องเที่ยวยกเลิกการเดินทางต่างๆ ทั้งในเรื่องของการเดินทางเพื่อท่องเที่ยวต่างประเทศในประเทศรวมไปถึงการเดินทางเพื่อทำธุรกิจ จึงทำให้สายการบิน ได้รับผลกระทบ ซึ่งอาจจะมีผลไปจนถึงปลายไตรมาสที่ 3 หรือไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ ถ้าหากสถานการณ์ยังไม่ดีขึ้น โดยเฉพาะการเดินทางไปยังประเทศจีน อิหร่าน เกาหลีใต้ และอื่นๆอีกมากมาย และในประเทศเหล่านี้ก็ยังคงจะต้องเผชิญกับสภาวะการขาดทุน เนื่องจากผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นลดลง และยังคงมีความกังวลต่อเรื่องการแพร่กระจายเชื้อ
และเนื่องจากความไม่แน่นอนของการควบคุมการแพร่กระจายเชื้อว่าจะสามารถทำได้หรือไม่ ซึ่งจากหลายๆคำถามหลายๆกระแสเสียง ต่อเรื่องที่ว่า COVID-19 จะค่อยๆ ลดลงหรือตายไปเอ งในช่วงที่มีสภาวะอากาศร้อนจัดแบบนี้ ยังคงไม่สามารถการันตีได้ เนื่องจากนี่เป็นเรื่องใหม่และเป็นเชื้อที่เรายังไม่เคยเจอ จึงยังไม่สามารถบอกได้ว่าสถานการณ์จะดีขึ้นในช่วงหน้าร้อนนี้หรือไม่ และแน่นอนว่ามันย่อมส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจสายการบินไปจนถึงไตรมาสที่ 3 และไตรมาสที่ 4 พูดง่ายๆว่าตลอดทั้งปีกันเลย
- ภาคอุตสาหกรรมยานยนต์
ผลกระทบจาก COVID-19 ที่เกิดขึ้นกับภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ เรียกว่าเป็นผลกระทบที่ค่อนข้างรุนแรง เนื่องจากในยุโรป เป็นผู้ผลิตยานยนต์รายใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก ได้รับผลกระทบนี้อย่างหนักจากการแพร่กระจายเชื้ออย่างรุนแรงทำให้กระบวนการผลิตหยุดชะงัก โรงงานอุตสาหกรรม ต่างๆทางด้านยานยนต์ ชะลอตัวลงอย่างเห็นได้ชัด ในขณะที่อุตสาหกรรมการผลิตในประเทศจีน ที่เริ่มจะควบคุมสถานการณ์ได้บ้างแล้วจากการที่พบว่า ยอดผู้ติดเชื้อลดลงอย่างเห็นได้ชัด และไม่มีการพบผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้นแต่อย่างใด ทำให้สถานการณ์ในภาคอุตสาหกรรมการผลิตของจีนเริ่มฟื้นตัวกลับมาได้บ้าง
- ภาคสินค้าอุปโภคบริโภค
การอุปโภคบริโภค ได้รับผลกระทบเนื่องจากผู้บริโภคขาดความเชื่อมั่นต่ออาหารที่จะรับประทาน เพราะความไม่แน่ใจว่าเราจะมีโอกาสได้รับเชื้อจากอาหารเหล่านี้หรือไม่ ทำให้ผู้คนมากมาย เลือกจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น “คิดเยอะขึ้น” โดยเฉพาะในภาคธุรกิจค้าปลีกในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งชะลอตัวลงอย่างรวดเร็ว รวมไปถึงการเกิดภาวะขาดแคลนสภาพคล่องและเงินทุนหมุนเวียน โดยเฉพาะบริษัทขนาดเล็ก ที่อาจจะต้องมีการปลดพนักงานหรือลดเงินเดือนลง
ในขณะที่ทางจีน ที่เริ่มจากกอบกู้สถานการณ์ได้บ้างแล้ว ก็พบว่า ภาคธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภคเริ่มกลับมาดีขึ้น โดยเฉพาะในการบริการขนส่งและบริการส่งอาหาร ซึ่งจากการเกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ทำให้ผู้คนจากตัวเองอยู่ในบ้านจึงมีการสั่งอาหารแบบเดลิเวอรี่ส่งตรงถึงบ้านมากขึ้น
การรับมือผลกระทบที่เกิดขึ้นจากไวรัสโคโรน่าสายพันธ์ใหม่
เมื่อการแก้ไขปัญหา และการป้องกันยังไม่สามารถทำได้อย่างเต็มที่ เนื่องจากแนวโน้มของการแพร่กระจายเชื้อ ยังไม่มีทีท่าว่าจะลดลง ยังไม่มีทีท่าว่าจะดีขึ้น เราก็ยังคงไม่สามารถจะคาดการณ์กับสถานการณ์ต่างๆ ไม่สามารถฟันธงได้ 100% และยังคงพบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากในหลายๆประเทศ แม้กระทั่งในประเทศไทยเราเอง ดังนั้นสิ่งเดียวที่ทำได้ในตอนนี้ ในภาคส่วนของธุรกิจต่างๆ ก็คือการสำรวจสินค้าคงคลัง สำรวจเงินสดสำรอง เพื่อให้สามารถควบคุมสถานการณ์ ทั้งในส่วนการจ้างงานและการดำเนินธุรกิจให้ยังคงอยู่และดำเนินต่อไปได้จนสถานการณ์จะดีขึ้น รวมไปถึงเพื่อบรรเทาภาวะชะงักงัน ของห่วงโซ่อุปทานต่างๆที่ส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมต่างๆโดยรอบด้าน
ภาคอุตสาหกรรม ภาคการท่องเที่ยว และภาคสินค้าอุปโภคบริโภค ซึ่งอาจจะต้องมีการป้องกันและเตรียมความพร้อม รับมือต่อการลดลงอย่างรวดเร็วของผู้ใช้บริการ เพื่อวางแผนจัดการความเสี่ยงและผลกระทบในระยะยาว รวมไปถึงศึกษาแนวโน้มการปรับตัวและพฤติกรรมของผู้บริโภค การรับมือต่างๆ ที่เกิดขึ้นนี้ จึงเรียกได้ว่าเป็นการรับมือหรือตั้งรับไปตามสถานการณ์เฉพาะหน้าเท่านั้น อย่างไรก็ตาม หลายๆภาคส่วนก็ยังคงทำงานอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะทางการแพทย์ ที่ต้องทำงานอย่างหนักเพื่อควบคุมสถานการณ์ การแพร่กระจายเชื้อของไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ จนกว่าจะสามารถกำจัดเชื้อนี้ได้อย่างจริงจัง